บทนำ

********************************************

1.  หลักการและเหตุผล

                        สำนักงานเกษตรอำเภอแม่พริก  จังหวัดลำปาง  กรมส่งเสริมการเกษตร  เป็นหน่วยงานที่มีภาระหน้าที่ ในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้  ความสามารถ  ในการประกอบอาชีพการเกษตร  ตลอดจนส่งเสริม และสนับสนุนการประสานงานในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพของเกษตรกร  เพื่อให้เกษตรกรมีความ เป็นอยู่ที่ดี  โดยมีบุคลากรระดับอำเภอ  และตำบล  คอยช่วยส่งเสริม  สนับสนุน  และพัฒนาเกษตรกรให้สามารถ เพิ่มผลผลิต  เพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร  เพื่อสร้างรายได้จากการบริโภคภายในประเทศ  และการส่งออก
                        การปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ  ที่กำหนดให้มีการปรับบทบาท  พันธกิจ  และวิธีการบริหารภาครัฐ  โดยกำหนดให้มีการวางแผนกลยุทธ์  ซึ่งประกอบด้วย  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  และเป้าหมายทางยุทธศาสตร์  รวมทั้งให้มี การติดตาม  วัดผลการปฏิบัติงาน  อย่างเป็นรูปธรรม  และมุ่งผลสัมฤทธิ์  ซึ่งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติสามารถใช้เป็น เครื่องมือในการบริหารจัดการ  การพัฒนาและการปรับปรุงการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ  โดยยุทธศาสตร์ของการปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ  ให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร จัดการบ้านเมืองที่ดี  พ.ศ.  2546  มาตรา  11  ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ  เพื่อให้มีลักษณะ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ  โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ  เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง  รวดเร็ว  และเหมาะสมต่อสถานการณ์  รวมทั้งต้องส่งเสริม  และพัฒนาความรู้  ความสามารถ  สร้างวิสัยทัศน์  และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัด  ให้เป็นบุคคล ที่มีประสิทธิภาพ  และมีการเรียนรู้ร่วมกัน
                        ประกอบการปัจจุบัน  สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ในด้านความรู้  เทคโนโลยี  และประสบการณ์  ส่วนหนึ่งของบุคลากรหน่วยงานขาดหายไป  บุคลากรที่เหลืออยู่จำเป็นต้องรักษา  และพัฒนาความรู้ ของหน่วยงานต่อไป  รวมทั้งต้องแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ  ในเวลาที่น้อยลง  การบริการมีลักษณะใช้ความรู้มากขึ้น  การปรับเปลี่ยนเป็นบริการที่มีลักษณะฉลาด  (SMART)  รวมทั้งความรู้เป็นการได้เปรียบทางการแข่งขัน  และนำไปสู่ ความสำเร็จของหน่วยงาน  และท้ายสุดเป็นเพราะกระแสโลกาภิวัฒน์  ที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถเลือกบริการ ได้นั่นเอง

2.  วัตถุประสงค์

                        1.    เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินการจัดการความรู้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และจริงจัง  เพื่อก้าวไปสู่  การเป็นองค์กรชั้นนำแห่งการเรียนรู้

                        2.    เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทุกคน  มีความรู้  สามารถพึ่งพาตนเองในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  และสามารถรับราชการอย่างดี  มีความเป็นมืออาชีพ  ด้วยการสร้างภูมิความรู้ให้แก่ตนเองและองค์กร
                        3.    เพื่อให้เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชปลอดภัยและพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม  ทำให้การประกอบอาชีพการเกษตรของเกษตรกร  มีความปลอดภัยมั่นคงและยั่งยืน  ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3.  แนวทางการดำเนินงาน  ในปี  2551

                        ในการดำเนินการจัดทำการพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้  โดยการจัดการตามแผนกการจัดการความรู้  อำเภอแม่พริก  ปี  2551  ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ร่วมกันวิเคราะห์  สภาวะแวดล้อม  (SWOT  Analysis)  โดยให้น้ำหนัก ของปัจจัยภายใน  ซึ่งประกอบด้วยจุดแข็งและจุดอ่อนเป็นสำคัญ  และใช้ปัจจัยภายนอก  ซึ่งประกอบด้วย  โอกาส  และอุปสรรค  เป็นปัจจัยเสริมที่มีผลต่อความสำเร็จของสำนักงานเกษตรอำเภอแม่พริก  นอกจากนี้  ได้พิจารณาข้อมูล หรือตัวแปรตามลำดับความสำคัญ  ดังนี้
                        1.    ปัจจัยภายใน  ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของสำนักงานเกษตรอำเภอ 
ในส่วนที่เป็นจุดแข็ง  นำมาใช้ประโยชน์และหาทางแก้ไขที่เป็นจุดอ่อน
                               1.1    จุดตัวแปรภายใน  มีผลทางบวกต่อสำนักงานเกษตรอำเภอแม่พริก  ตามลำดับความสำคัญ ของตัวแปร
                               -    มีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร  ทุกระดับในพื้นที่  สามารถบริการเกษตรกรได้อย่างทั่วถึง
                               -    มีระบบการถ่ายทอดเทคโนโลยี  โดยใช้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบล  เป็นศูนย์กลางเป็นกลไกการทำงานที่ให้เกิดการบูรณาการ และเข้าถึงบุคคลเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว
                               -    บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการประสานงาน  การถ่ายทอดเทคโนโลยีและ การบริการทั้งด้านการผลิตการตลาด  เพื่อพัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรกร
                               -    มีผลงานส่งเสริมการเกษตรที่ดีเด่น  และใช้เป็นต้นแบบให้กับหน่วยงานอื่น ๆ  เช่น  กระบวนการโรงเรียนเกษตรกร  ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง  โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย และได้มาตรฐาน  และอาสาสมัครเกษตร
                               -    บุคลากรมีความสามารถ  เสียสละ  เข้าถึง  และเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร                       
                               -    มีเนื้อหาเทคโนโลยี  และสื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรให้แก่เกษตรกรอย่างพอเพียง
                               1.2    จุดอ่อน  ตัวแปรภายในมีผลทางลบต่อสำนักงานเกษตรอำเภอ
                               -    งบประมาณและแผนงานโครงการต่าง ๆ  ส่วนใหญ่คำนึงถึงเป้าหมายในระดับผลผลิต  (Output)  การกำหนดเป้าหมายในระดับผลลัพธ์  (Outcome)  และผลกระทบ  (Impact)  อยู่ในช่วงเริ่มดำเนินการ
                               -    บุคลากรในระดับอำเภอ  ตำบล  ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  เพื่อให้มี ความพร้อมในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ
                               -    เจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ  ตำบล  ขาดความเข้าใจทางเทคนิคที่เกี่ยวข้อง  เกี่ยวกับกระบวนการ จัดการความรู้  (KM)  ทำให้ไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                               -    ผู้บริหาร  และเจ้าหน้าที่บางส่วน  ยังไม่บูรณาการ  การทำงานกันเท่าที่ควร
                               -    เกษตรตำบล  มีภารกิจมาก  รวมทั้งได้รับมอบหมายงานนอกภารกิจเพิ่มเติม  ทำให้กระทบ ต่อการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก  เช่น  ภารกิจที่อำเภอแม่พริกมอบหมายตามคำสั่งของอำเภอ
                              -    ค่านิยมในการทำงานของเจ้าหน้าที่บางส่วนยังเคยชินต่อการรอรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา  ทำให้มีการทำงานยึดติดรูปแบบและขาดความคิดริเริ่มในการพัฒนางาน
                               -    การจัดสรรงบประมาณบางส่วน  ยังไม่สอดคล้องกับระยะเวลาและกิจกรรมที่จะดำเนินงาน เท่าที่ควร
                        2.    ปัจจัยภายนอก  ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของสำนักงานเกษตรอำเภอแม่พริก  ไม่สามารถควบคุมได้  ต้องหลีกเลี่ยงและใช้โอกาสที่มีให้เกิดประโยชน์
                                2.1    โอกาส  ตัวแปรภายนอกมีผลทางบวกต่อสำนักงานเกษตรอำเภอแม่พริก  ตามลำดับความสำคัญของตัวแปร
                                            -    พ.ร.บ.  วิสาหกิจชุมชนเป็นกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อเกษตรกร  องค์กรเกษตรกร และชุมชนที่เป็นลูกค้าของสำนักงานเกษตรอำเภอแม่พริก
                                            -    การพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ทำให้เกษตรกรได้รับข้อมูล ข่าวสารที่สะดวก  รวดเร็ว  และหลากหลาย
                                            -    นโยบายและมาตรการต่าง ๆ  ของรัฐบาล  เช่น  ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข  เกื้อหนุนต่อ การส่งเสริมความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของเกษตรกร  เช่น  ปัจจัยการผลิต  และการพัฒนาคุณค่าผลิตภัณฑ์แปรรูป

                                            -    นโยบายรัฐบาลด้านการพัฒนาการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร  พัฒนาการ ตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้าเกษตร  (GAP)  เป็นโอกาสในการส่งเสรอมการผลิต สินค้าเกษตรเพื่อการแข่งขัน
                                            -    ยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด  ทำให้สำนักงานเกษตรอำเภอแม่พริก  สามารถขอรับการ สนับสนุนงบประมาณจัดทำแผนงาน/โครงการ  ที่ขอสนับสนุนการดำเนินงานจากยุทธศาสตร์การพัฒนา จังหวัดและอำเภอได้
                                            -    เกษตรกรให้ความเชื่อถือและยอมรับต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ในการส่งเสริมอาชีพ  ทำให้การทำงานง่ายและสะดวกขึ้น
                                            -    ผู้ว่าราชการจังหวัด  นายอำเภอ  และ  อปท.  ให้ความสำคัญและสนับสนุนการทำงาน ของสำนักงานเกษตรอำเภอ  ด้านงบประมาณ
                                2.2    อุปสรรค  ตัวแปรภายนอกมีผลทางลบต่อสำนักงานเกษตรอำเภอแม่พริก  ตามลำดับ ความสำคัญของตัวแปร
                                            -    สำนักงานเกษตรอำเภอแม่พริก  ได้รับการมอบหมายงานพิเศษ  งานด่วน  งานจร ไม่ตรงกับบทบาทหน้าที่มาก  และไม่ตรงกับความต้องการของเกษตรกร
                                            -    หน่วยงานภาครัฐ  และกอง  สำนักต่าง ๆ  ของกรมส่งเสริมการเกษตรไม่มีการบูรณาการ ในทุกระดับ  ทำให้งานซ้ำซ้อน  เปลืองทรัพยากรและเกษตรกรเกิดความเบื่อหน่าย
                                            -    นโยบายด้านการเกษตร  ปรับเปลี่ยนบ่อยไม่ต่อเนื่อง  ทำให้ขาดทิศทางในการพัฒนา                                      
                                            -    เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีความรู้และขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งวิชาการ  ข้อมูล  ข่าวสาร  และเงินทุน  ตลอดจนไม่มีการวิเคราะห์ตลาดและความเสี่ยง  ทำให้มีความสามารถในการผลิตลดลงและการพัฒนาการเกษตรเป็นไปอย่างล่าช้า
                                            -    ปัญหาจากภัยพิบัติและความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศส่งผลกระทบต่ออาชีพ การเกษตรและเป็นอุปสรรคต่อการควบคุมปริมาณและคุณภาพผลผลิตเกษตร

4.  ขั้นตอนการดำเนินงาน

                        วิธีการดำเนินการพัฒนาเครือข่าย  การจัดการความรู้  ปี  2551  กับบุคคลดังกล่าว  จะดำเนินการ  4  ขั้นตอน  ของการนำ  KM  ไปสู่การปฏิบัติมีดังนี้
                        ขั้นตอนที่  1    สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้
                        ขั้นตอนที่  2    กำหนดแผนปฏิบัติงาน
                        ขั้นตอนที่  3    ดำเนินการตามแผน                       
                        ขั้นตอนที่  4    ติดตามและประเมินผล


5.  แผนการปฏิบัติงาน

                        1.    จัดประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานระดับอำเภอ
                        2.    จัดประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานระดับอำเภอ / ตำบล  จำนวน  1  ครั้ง
                        3.    จัดทำแผนประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับอำเภอ  (DW)  จำนวน  4  ครั้ง
                        4.    จัดประชุมสัมมนาสรุปผลการปฏิบัติงาน  และจัดตลาดนัดความรู้  ระดับอำเภอ / ตำบล 

จำนวน 1 ครั้ง

6.  กระบวนการจัดการเรียนรู้

                        การกำหนดเป้าหมาย  (KV)  วิธีการในการดำเนินงานจัดประชุมปรึกษาหารือภายในสำนักงานเกษตรจังหวัด  ถึงงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ทุกโครงการ  เกษตรจังหวัดลำปางในฐานะ  CKO  (คุณเอื้อ)  ได้ให้นโยบาย  ทิศทาง  (เป้าหมาย)  การดำเนินงาน โครงการ ฯ  ในปี  2551  ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ ฯ  เพื่อให้นำไปวางแผนการปฏิบัติงาน / งบประมาณ / แนวทางการดำเนินงาน  มานำเสนอในที่ประชุมประจำเดือนสำนักงาน ฯ  (DM)
                        การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  (KS)  วิธีการในการดำเนินงานหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ ฯ  (คุณอำนวย)   ทั้งหมดของสำนักงานเกษตรอำเภอแม่พริก  ได้มีมติที่ประชุมต้องจัดประชุมเพื่อชี้แจง  ถึงแนวทางการดำเนินงานในปี  2551
                        ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญก่อนที่จะมีการทำแผนการจัดการความรู้  โดยจะต้องทำการสร้างความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้ให้เกิดขึ้นกับบุคลากรภายในอำเภอ  โดยการจัดกิจกรรม  เช่น
                        1.    การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ  เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้  ในองค์กร  โดยวิทยากรผู้มีความรู้  จากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรถึงการนำกระบวนการ  KM  มาใช้ในการปฏิบัติงาน
                        2.    จังหวัดแต่งตั้งคณะทำงานการบริหารจัดการความรู้และคณะทำงานในองค์กรระดับอำเภอ  โดยปรึกษาหารือและมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานแบบบูรณาการทุกโครงการ ฯ  อยู่ในคำสั่งเดียวกัน
                        3.    เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการประเมินภาพรวมของปัจจัยแวดล้อมในองค์กร  ที่จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการจัดการความรู้ในองค์กร  และการวางแผนการปฏิบัติงาน/งบประมาณ  ให้ชัดเจนในส่วนที่สามารถทำงานร่วมกันได้ก็ทำพร้อมกัน  ในส่วนไหนที่จะไม่สามารถร่วมได้้เพราะมีรายละเอียดมาก ก็แยกดำเนินการ  แต่ต้องนำกระบวนการ  KM  เข้าไปเครื่องมือทุกโครงการ
                        การบริหารคลังความรู้  (KA)  วิธีการในการดำเนินงานกำหนดเทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการ  KM  ตั้งแต่การจัดเก็บ  การจัดระบบ  การสืบค้น  และการค้นหาองค์ความรู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์  ดังนั้น  ระบบ  IT  และเครือข่ายจึงมีสาระสำคัญในการสนับสนุน  KM  ทั้งอยู่ในรูปแบบขององค์กร  และของบุคคล  และระบบสื่อสาร  เช่น  โทรศัพท์  ,  เทเลคอนเฟอเร็นซ์  อีเมล  เวปไซค์ของหน่วยงานและระบบรองรับการทำงานร่วมกัน 

 

 บทสรุปผู้บริหาร

 ********************************************

เล่าถึงมุมมองในการทำงานของอำเภอ  ขั้นตอนต่าง ๆ  เช่น

1.    คำสั่งแต่งตั้งทีมงาน  KM  และ  CKO  (Chief  Knowledge  Officer)  พร้อมรายละเอียดหน้าที่และความรับผิดชอบ
                        ตามคำสั่งอำเภอแม่พริกที่  89/2551  ลงวันที่  2  พฤษภาคม  2551  เรื่อง  การแบ่งงานและหน้าที่ ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่  สำนักงานเกษตรอำเภอแม่พริก  ปีงบประมาณ  2551

2.    ขอบเขต  KM  (KM  Focus  Area)
                        กระบวนการการมีส่วนร่วมในการทำ  KM  สามารถดำเนินการ  การจัดการความรู้
ตามกระบวนการ  และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรทุกกระบวนการ  โครงการฯ  ลำไย  30  ราย 30 แปลง ,ข้าว 153 ราย  153  แปลง

3.    เป้าหมาย  KM  (Desired  State)
                        เกษตรกรมีขีดความสามารถในการผลิต  และจัดการสินค้าเกษตร  ลำไย  30  ราย ข้าว 153 ราย  
ของเกษตรกรในอำเภอแม่พริก  จำนวน  4  ตำบล  ให้มีความรู้ความสามารถในการทำการเกษตรและพัฒนา คุณภาพของเกษตรกร

4.    ตัวชี้วัดความสำเร็จ  (Key  Success  Focus)
                        จำนวนเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย ร้อยละ 10 ที่ได้รับการ  
พัฒนาขีดความสามารถ  สู่ระบบ  GAP  ลำไย  ปี  2551  จำนวน  30  ราย  กระบวนการโรงเรียนเกษตรกร  ปี  2551  เพื่อเข้าสู่ระบบ  GAP  ปี  2551  จำนวน  153  ราย  ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและส่งเสริม  และพัฒนาการผลิตสินค้า เกษตรปลอดภัย  ตามประเด็นยุทธศาสตร์ต่อไป

7.  ผลการดำเนินงานตามกระบวนการจัดการความรู้

                        ขั้นตอนที่  1    สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้

                        1.    เข้ารับการประชุมชี้แจงจากจังหวัดให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ / ตำบล  ในเดือนกันยายน  2550  ณ  โรงแรมทิพย์ช้าง  จังหวัดลำปาง  โดยคุณอำนวยทั้งหลายได้ชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ ที่ได้รับ  โดยให้เจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ / ตำบล  แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงปัญหาที่ได้พบจากการ
ปฏิบัติจริง  ในปีงบประมาณที่ผ่านมา  เพื่อนำมาปรับใช้ในปี  2551  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

                        ขั้นตอนที่  2    กำหนดแผนปฏิบัติงาน

                        1.    จัดเวที  DM  จำนวน  12  ครั้ง  (เดือนละ  1  ครั้ง)  ประกอบด้วยเกษตรอำเภอ
เป็นประธาน  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล  4  คน  และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล  รับผิดชอบงานวิสาหกิจชุมชน  1  คน  แผนปฏิบัติงานการจัดองค์ความรู้  เรื่อง 
การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน  ปี  2551  อำเภอแม่พริก  ดังนี้
                                1.1      ตำบลละ  2  โรงเรียน  ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรข้าว  จำนวน
8  โรง  เกษตรกรทั้งสิ้น  153  คน
                                1.2      ตำบลแม่พริก                 หมู่ที่  1 , 5                 จำนวน  37  คน
                                           ตำบลแม่ปุ                      หมู่ที่  2 , 4                 จำนวน  37  คน
                                           ตำบลผาปัง                    หมู่ที่  2 , 5                 จำนวน  42  คน       
                                           ตำบลพระบาทวังตวง     หมู่ที่  1 , 6                 จำนวน  37  คน
                                1.3      ระยะเวลาดำเนินการ  ตั้งแต่เดือนมิถุนายน  ถึงเดือนตุลาคม  เดือนละ 
1  ครั้ง  รวม  5  ครั้ง  ต่อ  1  โรงเรียน

                        ขั้นตอนที่  3  ดำเนินการตามแผน

                        กิจกรรมโครงการที่ได้รับอนุมัติ  7  กิจกรรม  งบ  32,715  บาท
                        1.    กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีตามกรบวนการโรงเรียนเกษตรกรข้าว จำนวน 153 ราย  
งบประมาณ  15,300  บาท
                        2.    การขึ้นทะเบียนเกษตรกร  GAP  ข้าว  จำนวน  153  ราย  งบ  765  บาท
                        3.    ค่าติดตามประเมินแปลง  GAP  ของอาสาสมัครพืชลำไย 30 ราย งบ 2,700 บาท (แปลงละ 90  บาท)
                        4.    อบรมอาสาสมัครเกษตรกร  GAP  จำนวน  12  ราย  ระยะเวลา  2  วัน  งบ  1,800  บาท  วันที่  22  พฤษภาคม  2551  และวันที่  18  มิถุนายน  2551
                        5.    อบรมเกษตรกร  GAP  ลำไย  จำนวน  2  ครั้ง ๆ  ละ  1  วัน  จำนวน  30  ราย  เป็นเงิน  6,000  บาท  วันที่  28  พฤษภาคม  2551  และวันที่  25  มิถุนายน  2551
                        6.    ขึ้นทะเบียนเกษตรกร  GAP  ลำไย  ค่าการบันทึกข้อมูลขึ้นทะเบียนแปลง  30  ราย รายละ  5  บาท  งบ  150  บาท
                        7.    ค่าติดตามประเมินแปลง  GAP  ของที่ปรึกษา  (เจ้าหน้าที่)  ลำไย  จำนวน  30  ราย  งบแปลงละ  200  บาท  เป็นเงิน  6,000  บาท

                        ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                        สรุปกิจกรรมที่อำเภอแม่พริก  ได้ดำเนินการถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการตามแผนการอบรม  ในโครงการส่งเสริมการผลิตพืชปลอดภัยและได้รับการรับรองมาตรฐาน  เรื่อง  ส่งเกษตรกรที่มีความสนใจมีความพึงพอใจ  ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างรูปธรรมทั้ง  4  ตำบล ๆ  ละ  1  ประเด็น  หลังจากได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรมาแล้ว  ได้ความรู้ใหม่  (จากเกษตรกร)  มีอะไรบ้าง  นำเสนอในที่ประชุมทุกวันจันทร์  พร้อมปัญหา – อุปสรรคที่พบในการปฏิบัติงาน  ที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้  ให้จังหวัดช่วยแก้ไข

                        การนำเสนอ  ของแต่ละตำบล  ที่ได้เข้าร่วมประชุม  DM  ของสำนักงานเกษตรอำเภอแม่พริก  ในการจัดองค์ความรู้ด้านแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้รับมาตรฐาน  GAP  ด้านพืช  ในการปฏิบัติงานพื้นที่ที่ผ่านมา

                        ขั้นตอนที่  4  ติดตามและประเมินผล

                        อำเภอแม่พริก  ได้ดำเนินการติดตามและประเมินผลตามระบบส่งเสริมการเกษตร  ในตำบลแม่พริก  ,  ตำบลแม่ปุ  ,  ตำบลผาปัง  และตำบลพระบาทวังตวง  ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ ฯ  กิจกรรมต่าง ๆ  จากการติดตามผล  พบว่า  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  มีความเข้าใจในเป้าหมายและกระบวนการในการนำ  KM  มาใช้ในการปฏิบัติงาน  โดยเกิดจากประสบการณ์จริง  เกิดการตระหนักให้ความสำคัญและการมีส่วนร่วมในการทำ  KM  นอกจากนั้น  ยังสามารถดำเนินการจัดการความรู้ตามกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรทุกกระบวนการโครงการ นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมต่าง ๆ  ภายใต้กระบวนการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลง  เช่น  การเตรียมการและปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการสื่อสาร  การสร้างกระบวนการและเครื่องมือการเรียนรู้  การวัดผล  และประเมินผล

 

ปัญหาและอุปสรรค

*******************************************

ปัญหาและอุปสรรค

                        1.    องค์กรไม่มีแรงจูงใจหรือไม่มีแรงกระตุ้น  และไม่เห็นประโยชน์ของการนำขบวนการ  KM
                        2.    ตอนจัดทำโครงการ ฯ  KM  ไม่ได้มีการกำหนดองค์ความรู้ขององค์กรที่สอดคล้องกับงาน  และการปฏิบัติการขององค์กร  ซึ่งส่งผลให้เมื่อสร้าง  KM  แล้วมีส่วนส่งเสริมต่อความสำเร็จขององค์กรน้อยมาก
                        3.    ผู้นำระดับสูงในองค์กรไม่เข้าใจ  และไม่ให้การสนับสนุน  ทำให้การสร้าง  KM  ในองค์กรเป็นไปได้ยาก
                        4.    ในองค์กรยังไม่มี  ค่านิยม  และการปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนความรู้
                        5.    การจัดการองค์ความรู้ในองค์กร  ไม่ได้เชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายการทำงานตามภารกิจ
                        6.    ไม่มีการวัดผลการดำเนินการจัดการองค์ความรู้  ทำให้ไม่สามารถปรับปรุงพัฒนาได้
                        7.    ไม่มีระบบที่เอื้อต่อการสร้างบรรยากาศ  การเรียนรู้  และการสร้างองค์ความรู้ในองค์กร  เช่น  การให้รางวัล  เป็นต้น

 

สรุปผลการดำเนินงาน

******************************************

สรุปผลการดำเนินงานการจัดการความรู้

ตำบลแม่พริก                 การจัดการองค์ความรู้เรื่อง  การป้องกันกำจัดแมลงวันทอง  เกษตรกร
                                        มีความคิดการใช้กระเพราะล่อแมลงวันทองทำลายเกษตรกร  25  ราย

ตำบลแม่ปุ                      การจัดการองค์ความรู้เรื่องการตัดแต่งกิ่งลำไยหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย 
                                        เพื่อให้กิ่งทรงพุ่มไม่หักล้มง่าย  เกษตรกร  30  ราย

ตำบลผาปัง                    การจัดการองค์ความรู้เรื่องการขนย้ายผลผลิตลำไย  โดยการใช้วัสดุหุ้มเข่ง 
                                         เพื่อป้องกันผลแตกหรือถลอก  จำนวน  25  ราย

ตำบลพระบาทวังตวง    การจัดการองค์ความรู้เรื่องปุ๋ยชีวภาพใส่ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี 
                                         เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิต  ลดการใช้สารเคมี  จำนวน  36  ราย